จริงหรือไม่ที่ฉลามสายตาไม่ดี

จริงหรือไม่ที่ฉลามสายตาไม่ดี

การมองเห็นของฉลามดูเหมือนจะเป็นเรื่องลึกลับและมีการตั้งคำถามอยู่เสมอ จริงหรือไม่ที่ฉลามสายตาไม่ดี  เรามักได้ยินข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่ผิดพลาดซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างฉลามกับมนุษย์ นอกจากนั้นคงเคยได้ยินอีกว่าฉลามนั้นมีประสาทรับกลิ่นที่น่าทึ่งมาอย่างต่อเนื่อง และนั่นทำให้หลายคนเชื่อว่าฉลามมีสายตาที่ไม่ดี  กลุ่มวิจัยในออสเตรเลียได้ศึกษาการมองเห็นของฉลามมาหลายปีแล้ว อันที่จริงพวกเขาอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการมองเห็นของสัตว์มีกระดูกสันหลังก็ว่าได้ และพวกเขาได้ศึกษาดวงตาของปลาประเภท Elasmobranch (ปลากระดูกอ่อน) ที่แตกต่างกันหลายร้อยสายพันธุ์ อาทิเช่น ฉลาม กระเบน ปลาฉนาก และปลาโรนัน จากการวิจัยของพวกเขาสรุปได้ว่า พวกฉลามนั้นมีสายตาที่ “ดี” แต่เป็นสายตาที่ดีในแบบของพวกมัน ซึ่งแน่นอนว่าต่างจากการมองเห็นของมนุษย์ โดยเฉพาะการรับรู้ของสี หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้างว่า “ฉลามตาบอดสี” นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจถูกต้อง พวกฉลามขาดเซลล์ที่จำเป็นต่อการประมวลผลของสี พวกมันจะมองเห็นสีได้เฉพาะขาว กับ ดำเท่านั้น ในตาของมนุษย์เรามีกล้ามเนื้อที่คอยควบคุมรูปร่างของเลนส์ การโฟกัสสัญญาณแสงที่เรตินา แต่ผิดกับเลนส์ในตาฉลามที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปร่าง แต่มีกล้ามเนื้อที่เคลื่อนเลนส์ไปข้างหน้าหรือข้างหลังเพื่อโฟกัสแสง ฉลามมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นที่ดีเยี่ยม พวกมันมองเห็นได้ชัดเจนในระยะตั้งแต่ 10-15 เมตรขึ้นไป และสภาพน้ำยังสามารถส่งผลต่อการมองเห็นของพวกมันจากระยะดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าแม้การมองเห็นของพวกมันจะดี แต่ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากพอที่นำพวกมันพุ่งหาเหยื่อถ้าไม่ใกล้พอในระยะที่เหมาะสม ถึงแม้พวกมันจะมองได้เพียงสองสีและต้องใช้ระยะในการมอง ความไวแสงในดวงตาของพวกมันยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการมองเห็นที่ดีด้วย ความสามารถมองเห็นในสภาพแสงน้อยแตกต่างกันอย่างมากระหว่างสายพันธุ์ฉลามน้ำลึก กับ ฉลามน้ำตื้น โดยพื้นฐานแล้วมี เซลล์รับแสงสองชนิดที่อยู่ในเรตินา คือแบบ “กรวย” ทำงานในสภาพแสงจ้า และแบบ “แท่ง” จะทำงานในสภาพแสงน้อย ไม่น่าแปลกใจที่ฉลามน้ำลึกที่ค้นพบจะมีลักษณะดวงตาที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีสัดส่วนของเซลล์รับแสง […]