การเรียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนเสมอ การมีความรู้ที่เป็นประโยชน์หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งกับสิ่งที่ชอบหรือสนใจ การได้เป็นนักเรียนดีเด่นที่ไม่ว่าจะสอบวิชาไหนก็มีคะแนนที่ดีน่าพอใจอยู่ตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ต้องการ แต่หากตัวคุณเองดันเป็นคนที่เรียนรู้ได้ช้า เข้าใจอะไรยาก คุณควรอ่านบทความนี้ เรียนรู้เร็วด้วยเทคนิค Feynman เทคนิคที่จะช่วยคุณเข้าใจถึงการเรียนรู้มากขึ้น
Feynman หรือชื่อเต็ม Richard Feynman นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลปี 1965 เขาเป็นทั้งนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ ช่างซ่อมวิทยุ คนเก็บกุญแจ ศิลปิน นักเต้น นักเล่นบองโก ครูผู้ยิ่งใหญ่ และนักแสดงที่ประสบความสำเร็จในการสาธิตสาเหตุของภัยพิบัติกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ปี 1986 และเขายังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีควาร์กอีกด้วย นอกจากเป็นอัจฉริยะแล้วดร.ไฟน์แมนยังเป็นคนมีอารมณ์ขันมากด้วย เขาเป็นอัจฉริยะที่มีชื่ออยู่ในหนังสือฟิสิกส์สามเล่มและในช่วงวัยรุ่น โรงเรียนมัธยมปลายของเขาไม่ได้เปิดสอนหลักสูตรแคลคูลัส เขาจึงตัดสินใจสอนและอ่านแคลคูลัสด้วยตัวเอง เขามีสมุดบันทึกชื่อ NOTEBOOK OF THINGS I DON’T KNOW ABOUT. ที่เขียนการเรียนรู้ของเขา จัดระเบียบความรู้ใหม่ต่างๆและเขียนมันอยู่เสมอ
ดร.ไฟน์แมนเชื่อเสมอว่าถ้าใครไม่สามารถอธิบายบางสิ่งในแง่ง่ายๆได้ ก็ไม่มีใครสามารถเข้าใจมันได้เช่นกัน แนวคิดแบบนี้เป็นพื้นฐานของเทคนิค Feynman ว่ากันง่ายๆด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนแรกคือ การเลือกหัวข้อและเริ่มศึกษา การเรียนไม่ใช่มีเพียงแค่การท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น ตัวดร.ไฟน์แมนเองต่อต้านการท่องจำเพราะเขาเชื่อเสมอว่า “ควรเรียนรู้และเข้าใจหลักการมากกว่าจะมัวมาท่องจำ” และอีกวิธีที่ดีต่อการเรียนรู้ที่เร็วคือการเขียน การเขียนบางอย่างลงบนกระดาษจะช่วยกระตุ้นสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่หลักในการจดจำและการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2
การสอน การสอนคือการเรียนรู้และจดจำเนื้อหาต่างๆได้เร็วที่สุด หากคุณต้องการเป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรสักอย่างนี่คือวิธีที่ทรงพลังสำหรับการเรียนรู้ อธิบายแนวคิดหรือสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่ออกมาในรูปแบบที่คุณเรียบเรียงด้วยภาษาที่เรียบง่าย พยายามใช้คำศัพท์หรือคำพูดง่ายๆที่สามารถอธิบายให้ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเด็ก เพื่อน หรือคนที่โตกว่าให้เข้าใจได้ง่ายๆ แต่ไม่ใช่การท่องจำ คิดนอกกรอบบ้างนำสิ่งที่คุณกำลังศึกษาในเรื่องราวต่างๆที่คล้ายๆกันลองนำมาเรียบเรียงให้สามารถเชื่อมโยงกันได้จะยิ่งดีขึ้นไปอีก เหมือนการทำแมพปิ้งให้กับเรื่องที่ศึกษาอยู่ แล้วนำมาถ่ายทอดให้กับคนที่ไม่รู้และยิ่งคุณพัฒนาและทำมันบ่อยๆ ทักษะการเรียนรู้ของคุณก็จะยิ่งก้าวกระโดด
ขั้นตอนที่ 3
เมื่อคุณเลือกเรื่องที่จะศึกษาและศึกษามันอย่างจริงจังแล้ว คุณได้เขียนและสอนความรู้ของคุณให้กับคนอื่น แต่ไม่ว่ายังไงคุณก็ยังไม่สามารถเข้าใจมันได้หรือมีปัญหากับวิธีการเรียนรู้ การอธิบายของตัวเองกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ไม่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อเข้ากันได้หรือแม้แต่จะหาคำง่ายที่นำมาอธิบายให้ตัวเองหรือคนอื่นได้เลย วิธีที่สำคัญในขั้นตอนที่สามคือ การกลับไปที่จุดเริ่มต้นหรือแหล่งข้อมูลของคุณอีกครั้งอย่างช้าๆและใจเย็น ดูว่าคุณหลงลืมประเด็นหรือข้อมูลอะไรไปหรือไม่ ลองเปลี่ยนมุมคิดแล้วกลับไปแก้ไข วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ทบทวนและรู้ข้อจำกัดของตัวเองและพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น จะช่วยให้คุณปลดปล่อยความคิด เข้าใจวิธีการคิดที่เหมาะสมของตัวคุณเองและมันจะช่วยให้คุณเรียนรู้ได้เร็วขึ้นราวกับเวทมนตร์
ขั้นตอนที่ 4
ขั้นตอนสุดท้ายที่ง่ายนิดเดียวคือ ทำบันทึกย่อในแบบที่เป็นคุณ จัดระเบียบข้อมูลของคุณ หากคุณยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่คุณศึกษาอยู่ได้หรือคุณอยากทบทวน ตรวจทานการเรียนรู้ของคุณ คุณสามารถกลับไปทำตามขั้นตอนที่สองและสามได้เสมอ ฝึกฝนทำไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆจนกว่าคุณจะมีความเข้าใจแนวคิดหรือเชี่ยวชาญกับสิ่งที่คุณกำลังศึกษาได้อย่างแน่นอน
สรุป อีกครั้งให้เข้าใจง่ายๆคือ 1.เลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา 2. สอนหรืออธิบายให้กับคนที่ไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่คุณกำลังศึกษา 3. กลับไปที่แหล่งข้อมูลเมื่อเจอปัญหา และ 4. ลดความซับซ้อนและจัดระเบียบ เรียนรู้เร็วด้วยเทคนิค Feynman เพียง 4 ขั้นตอนที่สามารถเปลี่ยนตัวคุณจากคนหัวช้าให้กลายเป็นเข้าใจการเรียนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องท่องจำ “ไฟน์แมนเชื่อเสมอว่าความจริงอยู่ในความเรียบง่ายและสิ่งต่าง ๆ สามารถเข้าใจได้ดีขึ้น เมื่อทำให้สิ่งต่างๆ ซับซ้อนเกินไป ซึ่งมักจะแสดงว่าขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แนวคิดคือการทำให้สิ่งต่างๆ ง่ายพอที่จะเข้าใจได้โดยทุกคน จากนั้นทำมันเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง”(Sunnylabh) thaiguru.net
แหล่งที่มาข้อมูล: https://www.cantorsparadise.com
Credit สล็อตฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ