4 ฤดูของญี่ปุ่นบอกความสำคัญและความสัมพันธ์ของธรรมชาติกับการดำเนินชีวิต คนญี่ปุ่นผูกพันกับธรรมชาติของฤดูกาลมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของแต่ละฤดูกาลจะมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ วัฒนธรรม อาหาร การเดินทาง ทุกอย่างเกี่ยวโยงกันเสมอสำหรับคนญี่ปุ่น เช่น ฤดูร้อน คนญี่ปุ่นส่วนมากจะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด เคารพบรรพบุรุษ และฉลองปีใหม่กันในฤดูหนาว ชมดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ เป็นต้น แล้ว ฤดูน่าเที่ยว ณ เกียวโต จะมีช่วงเวลาไหนให้เหล่านักเที่ยวไปกันบ้าง เที่ยวอย่างถูกที่ถูกเวลาสัมผัสบรรยากาศแสนสุขที่เกียวโต
ฤดูใบไม้ผลิ หรือ ฮารุ
ช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม
เป็นฤดูดอกไม้บาน จากวันแรกของต้นเดือนมีนาคมที่ดอกเหมยบาน กระทั่งวันสุดท้ายของเดือนพฤษภาคมเมื่อดอกซากุระทางตอนเหนือร่วงโรยลงมา ฤดูนี้เป็นเวลาเริ่มต้นของธรรมชาติอันสดใสงดงาม ซึ่งมีการฉลองแทศกาลท่ามกลางธรรมชาติทั่วญี่ปุ่น อากาศของช่วง ‘ฮารุ’ ดีมากๆ และสดชื่นที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยในภูมิภาคแถบนี้อยู่ที่ราวๆ 7 – 18 องศาเซลเซียส
เทศกาลในฤดูฮารุ
3 มีนาคม เทศกาลฮินะ (Hina Matsuri) เทศกาลของเด็กผู้หญิง
1 – 30 เมษายน เทศกาลระบำฤดูใบไม้ผลิ (Haru no Odori) ระบำมิยะโกะ หรือระบำซากุระ สาวในชุดกิโมโนสวยงามจะร่ายรำตามสถานที่ต่างๆ
8 เมษายน เทศกาลถวายดอกไม้ (Hana Matsuri) เพื่อระลึกถึงวันประสูติของพระพุทธเจ้า
5 พฤษภาคม เทศกาลวันเด็กผู้ชาย (Kodomo no Hi) ทั่วทั้งพื้นที่จะประดับประดาด้วยธงปลาคาร์พหลากสีที่มีลูกชาย
15 พฤษภาคม เทศกาลอาโออิ (Aoi Matsuri) เทศกาลระลึกถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์
วันอาทิตย์ที่สามของเดือนพฤษภาคม เทศกาลมิฟูเน (Mifune Matsuri) เทศกาลแห่ขบวนเรือโบราณตามแม่น้ำโออิ
ฤดูร้อน หรือ นะท์ซึ
ช่วงเดือน มิถุนายน – สิงหาคม
ฤดูนี้ในเมืองเกียวโตจะร้อนถึง 30 กว่าองศาเซลเซียส เป็นความร้อนก้นหุบเขา คล้ายๆกับเชียงใหม่ จึงเป็นฤดูร้อนที่ไม่แล้ง เป็นความร้อนที่มีความสมบูรณ์ของความเขียวขจีจากพืชพรรณกระจายทั่วพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นต้นซากุระ ต้นเมเปิล ต้นโอ๊ก ที่อยู่ริมคลองรอบเมือง หรือในบริเวณป่าเขาที่ตัดกับสีเขียวเข้มของต้นสน และยังมีต้นไผ่ที่โอนอ่อนตามสายลมในตอนกลางวัน หรือต้นหลิวที่พลิ้วริมคลองริมแม่น้ำ เสียงจักจั่นที่ร้องก้องกันเป็นหมายกับซาวนด์แทร็กของเมือง ‘นะท์ซึ’ เป็นความสุขของคนเกียวโตที่ผู้ไปเยือนสามารถสัมผัสและเก็บเกี่ยวช่วงเวลานี้ได้
เทศกาลในฤดูนะท์ซึ
7 กรกฎาคม เทศกาลดวงดาว หรือเทศกาลทานาบะตะ (Tanabata Festival) ทั่วงานจะประดับไปด้วยโคมกระดาษหลากสี
13 – 15 กรกฎาคม (หรือสิงหาคมในหลายพื้นที่) เทศกาลบอน (Bon Festival) เทศกาลทางศาสนา เพื่อระลึกถึงดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว
16 – 17 กรกฎาคม เทศกาลกิอง (Gion Matsuri) เทศกาลขบวนแห่ย้อนยุค
16 สิงหาคม งานจุดไฟไดมอนจิ (Daimonji Bonfire) เป็นการจุดไฟฉลองบนเนินเขาที่ยิ่งใหญ่รอบเมืองเกียวโต
ฤดูใบไม้ร่วง หรือ อากิ
ช่วงเดือน กันยายน – พฤศจิกายน
ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวและใบไม้เปลี่ยนสี เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงในเดือนกันยายนและตุลาคม เป็นเดือนที่น่าเพลิดเพลินกับความเย็นสบายของอากาศ เป็นบรรยากาศความเปลี่ยนแปลงของสีสันธรรมชาติ จากสีเขียวขจีเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม แต้มเติมสีให้ขุนเขาและธรรมชาติเหมือนภาพวาดจากจิตกรฝีมือดี อย่างธรรมชาติ ไม่ใช่แค่นี้ในช่วง ‘อากิ’ ทุ่งนายังเป็นสีทอง ดอกเบญจมาศบานเปล่งปลั่งทั่วทั้งเมือง เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของฤดูที่เป็นรางวัลของธรรมชาติ อุณหภูมิของฤดูนี้กำลังดี สบายๆ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 6 – 16 องศาเซลเซียส
เทศกาลช่วงฤดูอากิ
22 ตุลาคม เทศกาลยุคสมัย (Jidai Matsuri) เทศกาลของศาลเจ้าเฮอันในเกียวโต
22 ตุลาคม เทศกาลไฟ คุรามะ โนะ ฮิ มัตสึริ (Kurama no Hi Matsuri)
15 พฤศจิกายน เทศกาล7 – 5 – 3 (Shichi – Go – San) พ่อแม่เคารพศาลเทพเจ้าที่คอยปกปักรักษาเด็กๆ
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน ช่วงเวลาแห่งอาราชิยามา โมมิจิ มัตสึริ (Arashiyama Momiji Matsuri)
ฤดูหนาว หรือ ฟุยุ
ช่วงเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ความหนาวไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง และเป็นความงามอีกอย่างท่ามกลางสีสันอีกเฉดของธรรมชาติ ฤดูหนาวทางด้านใต้หรือแถบเกียวโตไม่ได้โหดมากนัก ไม่หนาวจนแทบทนไม่ไหว สามารถเพลิดเพลินกับหิมะอุณหภูมิโดยปกติจะอบอุ่นด้วยแสงอาทิตย์และฟ้าสีคราม เป็นความสวยแบบหนาวแต่ไม่ทรมาน หิมะขาวๆคือนางเอกของฤดู การเตรียมเสื้อผ้าให้อบอุ่นและการติดตามข่าวสารเรื่องของอุณหภูมิจึงควรติดตามใกล้ชิด ช่วง ‘ฟุยุ’ ยังเป็นช่วงเทศกาลทั่วญี่ปุ่นด้วย ซึ่งจะมีงานรื่นเริงต่อเนื่องไปจนถึงปีใหม่
เทศกาลในฤดูฟุยุ
31 ธันวาคม งานไหว้พระที่ศาลเจ้ายาซากะ (Yasaka)
วันปีใหม่ (คนญี่ปุ่นฉลองปีใหม่กันจนถึงวันที่ 3 มกราคม ร้านอาหาร ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าจะหยุดทำการ คนญี่ปุ่นจะฉลองกันในครอบครัวมื้อพิเศษ)
3 หรือ 4 กุมภาพันธ์ เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ (Setsubun Matsuri)
สรุป ฤดูน่าเที่ยว ณ เกียวโต แต่ละเดือนของเกียวโตนั้นมีเสน่ห์น่าหลงใหลและทำให้เห็นถึงความแตกต่างให้ค้นหา เชิญชวนให้ไปเที่ยวดูสักครั้ง และงานเทศกาลที่มีอยู่เกือบทุกช่วงเวลาที่ทำให้เกียวโตยิ่งเป็นสถานที่ที่น่าเที่ยวไม่รู้ลืม
แหล่งที่มาข้อมูล: หนังสือ เกียวโต คู่มือท่องเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเอง โดย กรกฎ พัลลภรักษา และ คำ ผกา thaiguru
เครดิต : เว็บสล็อต