รู้หรือไม่ เข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือ

รู้หรือไม่ เข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือ

เชื่อว่าหลายท่านอาจเคยมีประสบการณ์นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลแล้วต้องเจอกับการฝังเข็มเพื่อให้น้ำเกลือ และแน่นอนว่าเมื่อมีอุปกรณ์บางอย่างสอดใส่เข้ามาภายในร่างกายของเราเป็นเรื่องธรรมดาที่ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความรู้สึกเจ็บปวด โดยเฉพาะการแทงน้ำเกลือนั้นทำให้คนไข้หลายคนแทบไม่กล้าจะขยับมือเพราะเชื่อว่าจะทำให้เส้นเลือดแตกจากการเคลื่อนตัวของเข็มที่อยู่ภายใน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกอึดอัดรำคาญกลัวว่าจะเป็นอันตราย แต่ความจริงแล้วคุณรู้หรือไม่ว่าสิ่งที่อยู่ในเส้นเลือดของคุณนั้นไม่ใช่เข็ม แต่เป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Catheter เพราะฉะนั้นเราอยากให้ทุกท่านเข้าใจใหม่ว่าเข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือเรา

Catheter คืออะไร

รู้หรือไม่ เข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าในอดีตนั้นเราได้ใช้เข็มที่เป็นโลหะฝั่งอยู่ภายในเส้นเลือดจริง นั่นก็เพื่อให้สามารถส่งผ่านน้ำเกลือเข้าสู่กระแสเลือดได้ แต่ด้วยเหตุที่บางครั้งคนไข้มีการขยับตัวทำให้ปลายของเข็มเกิดเสียดสีกับผนังหลอดเลือดเกิดเป็นแผลและอาการบาดเจ็บ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนา Catheter ขึ้นมาเพื่อใช้ฝั่งอยู่ในเส้นเลือดแทนของเดิม เนื่องจากเป็นพลาสติกอ่อนจึงทำให้มีคุณสมบัติการยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นไม่ว่าคนไข้จะเคลื่อนตัวหรือขยับบริเวณที่ให้น้ำเกลือก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

วิธีการใส่เข้าไปนั้นจะต้องทำงานคู่กันกับเข็มเจาะเลือด ซึ่งตัวนี้จะถูกบรรจุมาเป็นเซ็ตผ่านการฆ่าเชื้อมาเป็นอย่างดี โดยที่เข็มเจาะเลือดนั้นจะถูกหุ้มด้วย Catheter อีกที เมื่อเข็มถูกแทงเข้าไปแล้วทั้งสองชิ้นส่วนก็จะเข้าไปพร้อมกันหลังจากนั้นเมื่อดึงเข็มออกแพทย์พยาบาลก็จะคา Catheter เอาไว้และต่อเข้ากับสายน้ำเกลือทีหลัง ข้อดีของการใช้อุปกรณ์นี้คือมันสามารถถอดเปลี่ยนสารเหลวที่แพทย์ต้องการได้โดยที่ไม่ต้องถอดออกและเจาะเข้าไปไหม คนไข่ก็จะไม่ต้องเจ็บตัวหลายครั้ง อีกทั้งไม่ต้องกังวลเวลาที่ต้องเคลื่อนไหวอีกด้วย คนไข้ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันวงการแพทย์ทั่วโลกก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องมือนี้กันทั้งหมดแล้ว

Catheter มีกี่ขนาด

รู้หรือไม่ เข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือ

โดยทั่วไปแล้วในทางการแพทย์จะใช้ทั้งหมด 5 เบอร์ ได้แก่ 16 , 18 , 20 ,22 และ 24 และเข็มที่ใหญ่ที่สุดคือเบอร์ 16 มักใช้ในเส้นเลือดหลักที่มีขนาดใหญ่ และเข็มที่เล็กที่สุดคือเบอร์ 24 อาจเป็นเข็มที่ใช้สำหรับเด็กหรือแล้วแต่กรณี ซึ่งแต่ละเบอร์นั้นจะถูกนำมาใช้งานในกรณีที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ อาทิเช่น

  • ในกรณีของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ต้องการให้เลือด ทางแพทย์มักจะเลือกใช้เข็มเบอร์ 20 หรือ 18 ซึ่งมีขนาดที่พอดีที่เลือดจะไหลเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย
  • กรณีที่ต้องเร่งช่วยชีวิตในภาวะฉุกเฉิน (resuscitation) แพทย์มักจะเลือกใช้เบอร์ 16 ซึ่งเป็นเบอร์ใหญ่สุดก็เพื่อต้องการให้ของเหลวไหลผ่านได้อย่างรวดเร็ว
  • กรณีที่ต้องการให้ยาเคมีบำบัดแพทย์มักจะเลือดใช้เข็มที่เล็กที่สุด คือเบอร์ 24 เนื่องด้วยการให้ยาเคมีจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด ฉะนั้น หากให้เร็วเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดมากยิ่งขึ้นจึงเลือกใช้เข็มที่มีขนาดเล็กเพื่อช่วยในการชะลอการไหล

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เข็มนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์โดยเฉพาะเส้นเลือดของผู้ป่วยเอง ในรายที่เส้นเลือดเปราะมีความจำเป็นต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง อย่างไรเสียไม่ว่าแพทย์จะเลือกใช้เข็มขนาดเท่าใดท่านก็ยังสามารถขยับตัวและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระอยู่ดี เนื่องจากสิ่งที่ฝั่งอยู่ภายในเส้นเลือดจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสุขภาพของท่านอย่างแน่นอน

ข้อควรระวัง

แม้ว่า Catheter จะไม่ได้ส่งผลเสียกับท่านแต่ก็ไม่ได้หมายความท่านจะสามารถทำอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ เพราะในการให้สารน้ำมีข้อควรระวังทั่วไป ดังต่อไปนี้

  1. ระวังการไหลย้อนของเลือด เนื่องจากเราต้องการให้สารน้ำเข้าสู่ร่างกายการฉะนั้นการเกิดน้ำในสายเป็นสีแดงซึ่งเป็นสีของเลือดนั่นหมายความว่าเลือดไหลย้อน เกิดจากการที่ท่านวางตำแหน่งต่ำเกินไปให้หมั่นตรวจสอบดูให้ดี
  2. ระวังอย่างให้พลาสเตอร์ที่แปะอยู่หลุด เพราะนั่นจะเป็นตัวล็อค Catheter เอาไว้ไม่ให้หลุดออกมาและปิดกั้นเชื้อโรค 
  3. หาก Catheter เกิดหลุดหรือชำรุดให้รีบแจ้งแพทย์พยาบาลทันทีและไม่ควรถอดออกด้วยตนเอง

หากมีข้อสงสัยใดให้ถามได้จากเจ้าหน้าที่และหมั่นสังเกตอาการของตนเอง เพราะในบางกรณีอาจเกิดการบวมที่บริเวณเข็มที่ฝั่งเอาไว้ ซึ่งผลวินิจฉัยมีด้วยกันหลายสาเหตุ อาทิเช่น เกิดเส้นเลือดแตกบริเวณนั้นทำให้ของเหลวไหลออกนอกเส้นเลือด หรือเกิดการแพ้ยา หากเห็นความผิดปกติไม่ควรนิ่งเฉยเพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ได้ทันถ่วงที

เรื่องความเข้าใจผิดของคนไข้นี้สร้างความปวดหัวให้กับแพทย์และพยาบาลอยู่ไม่น้อย เพราะหลายกรณีที่เกิดขึ้นคือคนไข้ไม่กล้าจะขยับตัวหรือเคลื่อนไหวซึ่งอาจทำให้เกิดการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ มักเป็นในคนไข้ที่ต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ฉะนั้นเราอยากให้ท่านทำความเข้าใจเสียใหม่ว่าเข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือเรา thaiguru เราจึงสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวท่านเอง

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> UFABET

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG

Tag
4ประเทศที่มีค่าสกุลเงินต่ำกว่ารูปีอินเดีย (1) 4ร้านสุดปังในเมียงดง (1) 5หนังสือแนะนำ ที่ผู้ประกอบการควรอ่าน (1) 7 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด (1) 7 สวนสนุกร้างในญี่ปุ่นที่คุณต้องไม่พลาด (1) 7 สิ่งมหัศจรรย์ในตำนานที่หายไป (1) 7วิธีการทำสมาธิที่เหมาะกับคุณ (1) 8 สถานที่ สัมผัสงานหัตถกรรมแบบเกียวโต (1) 8 สถานที่แรงบันดาลใจ ตามรอยการ์ตูนค่าย Studio Ghibli (1) 8 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณขาดวิตามิน (1) 8 สิ่งที่วิศวกรทุกคนต้องการบนโต๊ะทำงาน (1) 8 อาหารสุดแปลกในแถบเอเชีย (1) 9 ความลึกลับใต้น้ำที่ถูกค้นพบ (1) 10 วิธีควบคุมอารมณ์โกรธ (1) 10 อันดับส่วนผสมทำเค้กที่คุณอาจนึกไม่ถึง (1) 10 อาหารที่ถูก และดีต่อสุขภาพ (1) 10 เมืองน่าเที่ยวที่ทำให้คุณมีความสุข (1) 10 ไอเดียเขียนไดอารี่ที่จะทำให้คุณมีความสุขและใจเย็นมากขึ้น (1) ขนตูดมีไว้ทำไม (1) ข้อควรรู้ เลือกเครื่องซักผ้า ฝาล่างหรือฝาบน (1) คาเฟ่หอมหวานที่เชิงหว่าน at ฮ่องกง (1) จริงหรือไม่ที่ฉลามสายตาไม่ดี (1) ตัวหอมด้วยการกิน (1) ประเทศอินเดีย (1) ผลไม้สุขภาพดี (1) ผลไม้อบแห้ง ขนมยอดฮิตใน TIKTOK (1) พิธีกรรมเสริมความงามสาวอินเดีย (1) มารู้จัก โรคหน้านิ่ง จนคิดว่าหยิ่ง (1) รวมมีมแมวที่ชาวเน็ตใช้กันมากที่สุด (1) รอยสัก (1) รู้หรือไม่ เข็มแทงน้ำเกลือไม่ได้ฝังอยู่ในมือ (1) ลายสัก (1) วัฒนธรรมสักลาย ไทย ญี่ปุ่น เมาคลี (1) ออกกำลังกาย (1) อาหารแปลก (1) เกร็ดความรู้ (28) เครื่อง แปลภาษา (1) เคล็ดลับการตื่นเช้าให้สดชื่นที่คุณควรรู้ (1) เคล็ดลับต่างๆ (33) เคล็ดลับทำให้ดูเด็ก (1) เคล็ดลับสร้างความสุข (1) เที่ยวรอบโลก ด้วยเครื่อง 42 แปลภาษา (1) เมเฮนดี (1) เรื่องน่ารู้ (125) แมวน่ารัก (1)