ในยุคปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายและทานอาหารสุขภาพมากขึ้น อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตของมนุษย์เรามาก หลายๆคนที่หันมาสนใจสุขภาพและเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น หากคุณอยากทำด้วยตัวเองแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร คู่มือช้อปปิ้งของชำทำอาหาร Healthy บทความที่แนะนำรายการซื้อของที่ดีต่อสุขภาพอย่างชาญฉลาด
สร้างรายการซื้อของสุขภาพและวางแผนเมนูอาหารที่จะทานในแต่ละสัปดาห์
รายการซื้อของและการวางแผนมื้ออาหารของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คุณอยากทานอะไรในแต่ละมื้อของสัปดาห์นั้นๆ ค้นหาสูตรอาหารและจดวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อจะได้รู้ว่าควรซื้ออะไรบ้าง การทำแบบนี้นอกจากจะเข้าใจการทำอาหารแล้วยังจำกัดการใช้เงินในแต่ละสัปดาห์ได้อีกด้วย หรือหากคุณยังไม่แน่ใจว่าต้องการทานอะไร คุณอาจจะสร้างรายการซื้อของชำสำหรับทำอาหารได้โดยการเลือกซื้อแต่ของที่คุณน่าจะทานบ่อยๆหรือทำได้ตลอด แยกเป็นประเภทไว้ผลไม้ที่มีแป้ง เครื่องปรุงที่ต้องใช้บ่อยๆ อาหารแช่แข็ง เป็นต้น
ซื้อของชำมาเก็บไว้อย่างมือโปร
หากคุณไม่ใช่คนที่ชอบไปช้อปปิ้งมาซื้อของแบบวันต่อวัน หรือทุกสัปดาห์ ขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อของและการเก็บรักษาแยกเป็นประเภทใส่ตู้ไว้ทั้งของแห้งและของสด แยกหมวดหมู่และรายการของที่ต้องซื้อไว้ให้คุณได้เลือกซื้อได้ง่ายๆ
ตู้สำหรับเก็บของแห้ง
ถั่ว เมล็ดพืชและเนยถั่ว: ถั่วพิตาชิโอ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ และเนยถั่ว เนยอัลมอนด์ธรรมชาติ (เนยถั่วหรือเนยอัลมอนด์ธรรมชาติบางชนิดจะต้องแช่เย็นหากเปิดแล้ว แป้งถั่วต่างๆก็ควรแช่ในช่องแช่แข็งเพื่อเก็บรักษาไว้ให้นาน)
น้ำมัน: น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอโวคาโด
ธัญพืช: คีนัว ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต บัควีท พาสต้าข้าวกล้อง
ผลไม้อบแห้งชนิดไม่หวาน: มะม่วงอบแห้ง ลูกเกด อินทผลัม เชอร์รี่อบแห้ง
เครื่องเทศ: ผงกระเทียม ขมิ้น ผงกะหรี่ ยี่หร้า พริกปาปริก้า อบเชย
ถั่วกระป๋อง: ถั่วชิกพี ถั่วดำ ถั่วเลนเทิล
อาหารกระป๋อง: ทูน่า แซลมอน
เบเกอรี่และสารให้ความหวาน: ผงฟู เบกกิ้งโซดา น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมเมเปิล สารสกัดวานิลลา ผงโกโก้ แป้งผสม
นม: นมมะพร้าว นมข้าวโอ๊ต นมมะม่วงหิมพานต์เอล์มเฮิรสต์
ซอส น้ำสลัด และเครื่องปรุง: ซอสมารินาร่าไม่หวาน มะกอก มายองเนสสูตรไขมันต่ำ น้ำส้มสายชูแอปเปิลไซเดอร์ น้ำส้มสายชูบัลซามิก ซอสรสเผ็ด ผง ก้อนซุปไก่หรือผัก
ขนมทานเล่น: กล้วยทอดแผ่นไม่ปรุงรส เบอร์รี่อบแห้ง เทรลมิกซ์ ตอร์ติญ่าชนิดแผ่น อัลมอนด์เคลือบช็อกโกแลต กาแฟ ผงโปรตีนถั่ว โปรตีน ธัญพืชบาร์
อาหารที่สามารถเก็บได้นานอื่นๆ: มันเทศ มันฝรั่ง หัวหอม บัตเตอร์นัต กระเทียม
ช่องแช่แข็ง หรือ ตู้แช่แข็ง
แหล่งโปรตีน: ไก่ ไก่บด ไส้กรอกไก่ ปลาแซลมอนที่ไม่ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงโดยเฉพาะ
ผลไม้และผักแช่แข็ง: เชอร์รี่ เบอร์รี่ต่างๆ มะม่วง ผักโขม ถั่วแระญี่ปุ่น บร็อคโคลี่ ถั่ว ดอกกะหล่ำ
ขนมปัง: ขนมปังเอเสเคียล ซาวโดวจ์
** ถั่ว แป้ง และแป้งจากเมล็ดพืช การเก็บรักษาให้นำมาใช้ได้นานควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องออกไปซื้อของทำอาหารบ่อยๆ
วิธีการเลือกซื้อของและอ่านฉลากโภชนาการ
หลังจากรู้ว่าควรซื้ออะไรบ้างและการที่ต้องวางแผนเมนูอาหารวันต่อวันหรือสัปดาห์ที่ช่วยให้คุณได้รู้ของที่ต้องมีแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาไปช้อปปิ้งและการอ่านฉลากทางโภชนาการที่เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งสำหรับการซื้อของชำทำอาหารเพื่อสุขภาพ หลักการในการไปช้อปปิ้งของชำนั้นมีไม่กี่อย่างคือ ซื้ออาหารที่แน่นโปรตีนและสารอาหารเป็นหลัก ช้อปปิ้งของชำตามแผนเมนูที่เขียนไว้ พยายามอย่าซื้อของที่ไม่ได้อยู่ในรายการเพียงเพราะมันลดราคา เวลาเดินไปซื้อของให้เริ่มต้นที่ผลไม้ โปรตีน กลุ่มอาหารแห้ง ธัญพืช เครื่องเทศเครื่องปรุง(หากของที่บ้านหมด) ของแช่แข็งและอาจจบด้วยขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ
การอ่านฉลากนั้นให้ดูคุณค่าทางอาหารที่ได้รับต่อวัน ไขมันที่ควรบริโภคไม่ควรเกิน 7 – 10% ต่อวัน ควรบริโภคโปรตีนไม่น้อยกว่า 50 กรัมต่อวัน และหากสิ่งที่ต้องซื้อมีส่วนผสมสารให้ความหวานหรือน้ำตาลในปริมาณที่เกินกว่า 6 กรัม ให้พยายามเลี่ยง รวมไปถึงอาหารออร์แกนิกหรือปราศจากกลูเตนก็ควรดูปริมาณน้ำตาลให้ดีเช่นกัน
สรุป คู่มือช้อปปิ้งของชำทำอาหาร Healthy คุณควรเริ่มต้นวางแผนเมนูอาหารของคุณให้ดีและอย่าว่อกแว่กกับแผนงานของคุณเพราะขอลดราคา อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง แต่ถ้ายังไม่เข้าใจหรือขี้เกียจที่จะวางแผน ให้เลือกซื้ออาหารตามรายการที่แนะนำติดบ้านเอาไว้รับรองว่าคุณจะมีสุขภาพที่ดีจากวัตถุดิบเหล่านี้แน่นอน thaiguru.net
แหล่งที่มาข้อมูล: https://www.healthline.com