การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของทุกคน ช่วยให้ร่างกายและสมองทำงานได้อย่างถูกต้อง ช่วยปรับปรุงการเรียนรู้ ความจำ การตัดสินใจ และแม้แต่ความคิดสร้างสรรค์ได้ รวมไปถึงลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆได้เช่นกัน แต่สำหรับบางคนการนอนหลับอย่างดีเป็นเรื่องที่ยากมาก ตัวช่วยในการนอนหลับ สำหรับผู้มีปัญหาและนอนไม่เพียงพอ บทความที่จะแนะนำตัวช่วยบางอย่างที่ช่วยให้การนอนหลับของคุณง่ายดาย
Melatonin
เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตเองตามธรรมชาติ และส่งสัญญาณไปยังสมองว่าถึงเวลานอนแล้ว โดยระดับเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติในตอนเย็นและลดลงในตอนเช้า ด้วยเหตุผลนี้ อาหารเสริมเมลาโทนินจึงกลายเป็นเครื่องช่วยการนอนหลับที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีคนที่มีอาการเจ็ทแล็กหรือทำงานเป็นกะ และรวมไปถึงผู้ที่นอนหลับยาก ถึงอย่างไรก็ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากและในระยะยาว
Valerian root
Valerian เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียและยุโรป รากของมันมักใช้รักษาสำหรับอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า และวัยหมดประจำเดือน รากของวาเลอเรียน เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรสำหรับการนอนหลับที่ใช้กันมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและยุโรป งานวิจัยรายงานว่าวาเลอเรียน 300-900 มก. ที่รับประทานก่อนนอนอาจปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับให้มีประสิทธิภาพได้ อย่างไรก็ตามการศึกษายังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก Valerian root เป็นอาหารเสริมยอดนิยมที่อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับและอาการผิดปกติของการนอนหลับได้อย่างน้อยในบางคน จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานในระยะยาวและในกลุ่มสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร
Magnesium
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหลายร้อยกระบวนการในร่างกายมนุษย์ และมีความสำคัญต่อการทำงานของสมองและสุขภาพของหัวใจ นอกจากนี้ แมกนีเซียมอาจช่วยให้จิตใจและร่างกายสงบลง ทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลการผ่อนคลายของแมกนีเซียมอาจส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความสามารถในการควบคุมการผลิตเมลาโทนิน มีผลผ่อนคลายต่อร่างกายและสมอง ซึ่งอาจช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับได้ดี
Lavender
ต้นลาเวนเดอร์มันผลิตดอกไม้สีม่วงที่เมื่อแห้งแล้วมีประโยชน์หลายอย่างในครัวเรือน นอกจากนี้ เชื่อกันว่ากลิ่นหอมของลาเวนเดอร์ช่วยให้นอนหลับสบาย น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์อาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลาเวนเดอร์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย และใช้สูดดมดีกว่าการรับประทานเพราะในบางคนเกิดการแพ้
Passionflower
Passionflower หรือที่เรียกว่า Passiflora incarnata หรือ maypop เป็นยาสมุนไพรยอดนิยมสำหรับแก้การนอนไม่หลับ การศึกษาจากผู้ร่วมทดลองเปรียบเทียบผลของชาเสาวรสกับชาหลอกที่ทำจากใบพาร์สลีย์ ถึงได้ผลการวิจัยออกมาเป็นกลาง แต่กลุ่มผู้เข้าร่วมเลือกให้คะแนนสูง 5% จากชาดอกเสาวรส และยังพบว่าพารามิเตอร์การนอนหลับนั้นดีขึ้น อย่างไรจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม แต่การบริโภคดอกเสาวรสมักปลอดภัยในผู้ใหญ่ และดูเหมือนว่าดอกเสาวรสอาจให้ประโยชน์มากกว่าเมื่อบริโภคเป็นชาหรือสารสกัด เมื่อเทียบกับแบบอาหารเสริม
Glycine
Glycine เป็นกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญในระบบประสาท การศึกษาแสดงให้เห็นว่าอาจช่วยปรับปรุงการนอนหลับได้ การบริโภคไกลซีนทันทีก่อนนอนอาจช่วยให้คุณหลับเร็วขึ้นและยังช่วยปรับปรุงความเหนื่อยล้าและความง่วงในตอนกลางวันให้ลดลงมากขึ้น คุณสามารถซื้อไกลซีนในรูปแบบเม็ดหรือแบบผงที่สามารถเจือจางในน้ำได้ ในปริมาณ 0.8 กรัม/กก. ต่อวัน จะปลอดภัยกว่า คุณยังสามารถเพิ่มปริมาณไกลซีนของคุณได้ด้วยการรับประทานอาหาร ได้แก่: ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำซุปกระดูก เนื้อสัตว์ ไข่ สัตว์ปีก และปลา, ถั่ว, ผักโขม, ผักคะน้า, กะหล่ำปลี, ผลไม้อย่างกล้วยและกีวี
อาหารเสริมและตัวช่วยอื่นๆ
มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่งเสริมการนอนหลับอีกมากมายในท้องตลาด อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวด ไม่ว่าจะเป็น Tryptophan, Ginkgo biloba และ L-theanine และ ตัวช่วยการนอนหลับ OTC อื่นๆ ได้แก่ Diphenhydramine และ Doxylamine succinate (ทั้งสองชนิดเป็นยาแก้แพ้)
สรุป ตัวช่วยในการนอนหลับ สำหรับผู้มีปัญหาและนอนไม่เพียงพอ ความเสี่ยงและข้อควรระวัง คุณควรพูดคุยกับแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรหรือยา OTC โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรและผู้ที่ต้องทานยาประจำ สำหรับผลข้างเคียงทั่วไปพบได้เฉพาะในผู้ที่ได้รับยาในปริมาณสูง ดังนี้
Melatonin: ผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และเวียนศีรษะ
Valerian root: ท้องร่วง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และใจสั่น
Magnesium: ท้องร่วง, คลื่นไส้, และอาเจียนเมื่อรับประทานในปริมาณที่สูง
Lavender: คลื่นไส้และอาหารไม่ย่อย
Passionflower: อาการวิงเวียนศีรษะและสับสนในบางครั้ง
Glycine: อุจจาระนิ่มและปวดท้อง ในบางครั้ง
Tryptophan: คลื่นไส้เล็กน้อย ปากแห้ง เวียนศีรษะและตัวสั่น
Ginkgo biloba: ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงและหายาก เช่น ท้องร่วง ปวดหัว คลื่นไส้ และผื่นขึ้น
L-theanine: ไม่มีผลข้างเคียงที่ได้รับการยืนยันหรือโดยตรงเมื่อรับประทานเพียงอย่างเดียว ท้องร่วงและปวดท้องเมื่อรวมกับ L-cystine
ตัวช่วย OTC: ยังไม่มีหลักฐานเรื่องเกิดผลข้างเคียง ทั้งสองเป็นยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง แต่ไม่ควรใช้เพื่อเป็นยานอนหลับ thaiguru
เครดิต : เว็บสล็อต